ภาพ สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรสัตว์
ที่มา : www.wikipedia.org
ที่มา : www.wikipedia.org
สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้แบ่งเป็น
9 ไฟลัม คือ
1. ไฟลัมพอริเฟอรา (Phylum Porifera)
2. ไฟลัมซีเลนเทอราตา (Phylum Coelenterata)
3. ไฟลัมแพลทีเฮลมินเทส (Phylum Platyhelminthes)
4. ไฟลัมเนมาโทดา (Phylum Nematoda)
5. ไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca)
6. ไฟลัมแอนเนลิดา (Phylum Annelida)
7. ไฟลัมอาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda)
8. ไฟลัมเอไคโนเดอร์มาตา
(Phylum Echinodermata)
9. ไฟลัมคอร์ดาตา (Phylum Chordata)
1. ไฟลัมพอริเฟอรา (Phylum Porifera)
ภาพ ฟองน้ำท่อพุ่มสีแดง
ที่มา : www.biotec.or.th
Porifera มาจากภาษาละติน
(porudus + ferre = pore + bearing) หมายถึงสัตว์ที่มีรูพรุน
สัตว์ในไฟลัมนี้ ได้แก่ ฟองน้ำ (sponge) มีช่องว่างภายในลำตัว
(spongocoel) น้ำจะผ่านเข้าทางรูพรุน (ostium) ซึ่งมีอยู่ทั่วตัวสู่ช่องว่างภายในลำตัวและผ่านออกจากตัวทางช่องน้ำไหลออก
(osculum) โดยฟองน้ำส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในน้ำเค็มพบประมาณ 10,
000 สปีชีส์ บางชนิดอาศัยอยู่ในน้ำจืดพบประมาณ 50 สปีชีส์
ลักษณะที่สำคัญ
1. มีสมมาตรแบบรัศมี (radial symmetry) หรือไม่มีสมมาตร (asymmetry)
2. ผนังตัวของฟองน้ำประกอบด้วยเซลล์ที่มาเรียงตัวเป็นชั้นของเซลล์
2 ชั้น คือชั้นเซลล์ผิว ด้านนอกหรือเอพิเดอมิส (epidermis)
ประกอบด้วยเซลล์เพียงชนิดเดียวคือ พินาโคไซท์ (pinacocyte) จึงอาจเรียกเซลล์ผิวนี้ว่า พินาโคเดิร์ม (pinacoderm) ส่วนด้านเซลล์บุช่องกลางตัว คือ โคเอโนไซท์ (choanocyte or collar
cell ) จึงเรียกว่า โคเอโนเดิร์ม (choanoderm) โคเอโนไซท์เป็นเซลล์ที่มีรูปร่างคล้ายปลอกคอ มีแส้ (flagellum) 1 เส้นทำหน้าที่ให้น้ำไหลเวียนและย่อยอาหาร ระหว่างชั้นของเซลล์ 2 ชั้นนี้จะมีสารคล้ายวุ้น (gelatinous matrix) แทรกอยู่
ซึ่งจะมีเซลล์ที่เคลื่อนที่แบบอะมีบา(amoeboid cell) หรือ
อะมีโบไซท์ (amoebocyte) เรียกชั้นนี้ว่า มีโซฮิล (mesohyl)
หรือมีเซนไคม์ (mesenchyme)
3. ฟองน้ำมีระบบโครงร่างค้ำจุนให้คงรูปอยู่ได้
บางชนิดแข็งเรียกว่า ขวาก (spicule) ซึ่งมักเป็น หินปูน
และซิลิกา (silica) เช่นฟองน้ำหินปูน ฟองน้ำแก้ว
บางชนิดเป็นเส้นใยโปรตีน เรียกว่า
สพองจิน (spongin) ได้แก่ ฟองน้ำถูตัว
4. ไม่มีระบบหมุนเวียน ระบบหายใจ ระบบขับถ่าย และระบบประสาท
ซึ่งจะอาศัยการไหลเวียนน้ำเป็นตัวการสำคัญในกระบวนการเหล่านี้
ฟองน้ำกินอาหารโดยกรองอาหารที่อยู่ในน้ำผ่านเข้ารูพรุนรอบตัว
หายใจโดยการดูดซึมออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำผ่านผนังลำตัว
5. มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยการสร้างสเปิร์มและไข่ผสมกัน
และจะได้ตัวอ่อนที่มี ซิเลียว่ายน้ำได้ การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการแตกหน่อ (budding)
6. ตัวเต็มวัยจะเกาะอยู่กับที่ (sessile animal)
แบ่งออกเป็น 3 Class ได้แก่
1. Class Calcarea ได้แก่ฟองน้ำที่มีแกนแข็ง
เป็นพวกหินปูน (CaCO3)
2. Class Hexactinellida ได้แก่ฟองน้ำที่มีแกนแข็งเป็นพวกแก้วหรือทราย
(Silica)
3. Class Demospongiae ได้แด่ฟองน้ำถูตัวที่มีแกนอ่อนนุ่ม
ประกอบด้วยสารประเภท Scleroprotien
2. ไฟลัมซีเลนเทอราตา (Phylum
Coelenterata)
ภาพ ปะการังถ้วยสีส้ม
ที่มา : www.wikipedia.org
สัตว์ที่อยู่ในไฟลัมนี้ เรียกว่า ซีเลนเทอเรต (Coelenterate)ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในทะเล
เช่น ปะการัง กัลปังหา ดอกไม้ทะเล แมงกะพรุน มีเพียงส่วนน้อยอยู่ในน้ำจืด เช่น
ไฮดรา แมงกระพรุนน้ำจืด
แบ่งออกเป็น 3 Class ได้แก่
1. Hydrozoa ส่วนใหญ่มีรูปร่างเป็น Polyp บางช่วงเป็น Medusa อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม (Colony) เช่น โอบีเลีย
แมงกระพรุนน้ำจืด แมงกระพรุนลอย และไฮดรา
2. Scyphozoa ส่วนใหญ่มีรูปร่างเป็น Medusa (รูปร่างคล้ายร่ม
ว่ายน้ำได้อิสระ) เช่น แมงกระพรุนไฟ แมงกระพรุนจาน
3. Anthozoa มีรูปร่างเป็นแบบ Polyp เท่านั้น
อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีการสร้างสารหินปูนเป็นเปลือกหุ้มเช่น พวกปะการัง หรือ
กัลปังหา
3. ไฟลัมแพลทีเฮลมินเทส (Phylum
Platyhelminthes)
ภาพ พยาธิใบไม้ พยาธิตัวตืด พยาธิพลานาเรีย
ที่มา : www.chaiwbi.com
Platyhelminthes มาจากภาษากรีก (platy + helminth =
flat worm) หมายถึงหนอนที่มีลำตัวแบน ได้แก่พวกหนอนตัวแบน
ชื่อสามัญ flat worm มีทั้งที่ดำรงชีวิตอย่างอิสระ
เรียกหนอนตัวแบน และพวกที่เป็นพยาธิในสัตว์อื่น เรียกพยาธิตัวแบน โดยสัตว์ในไฟลัมนี้อาศัยอยู่ทั้งในน้ำเค็ม น้ำจืด
และบริเวณพื้นดินที่มีชื้นสูง พบประมาณ 20,000 สปีชีส์
แบ่งออกเป็น 3 Class ได้แก่
1. Class Turbellaria เช่น พลานาเรีย
ซึงดำรงชีพโดยหากินอย่างอิสระ
2. Class Trematoda เช่น พยาธิใบไม้ชนิดต่าง ๆ
ซึ่งดำรงชีพโดยการเป็นปาราสิต
3. Class Cestoda เช่น พยาธิตัวตืด
ซึ่งดำรงชีพโดยเป็นปาราสิต
4. ไฟลัมเนมาโทดา (Phylum Nematoda)
ภาพ โครงสร้างของหนอนตัวกลม
ที่มา : wwwchaiwbi.com
สัตว์ในไฟลัมนี้เรียกกันทั่วไปว่าหนอนตัวกลม(Roundworm)หรือเนมาโทด(Nematode)
สามารถแบ่งตามประเภทการดำรงชีวิตได้
3 ประเภท
1. พยาธิตัวกลมในลำไส้ เช่น พยาธิเส้นด้าย, พยาธิปากขอ, พยาธิไส้เดือนตัวกลม, พยาธิแส้ม้า
2. พยาธิตัวกลมในเนื้อเยื่อ เช่น พยาธิโรคเท้าช้าง, พยาธิตัวจี๊ด
3.
พยาธิตัวกลมที่เป็นอิสระ เช่น หนอนน้ำส้มสายชู, หนอนในน้ำเน่า, ไส้เดือนฝอย
5. ไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca)
ภาพ สิ่งมีชีวิตในไฟลัมมอลลัสกา
ที่มา : www.wikipedia.org |
Mollusca มาจากภาษาละติน
(molluscus = soft) แปลว่า นิ่ม หมายถึงลำตัวนิ่ม
จึงเรียกสัตว์ลำตัวนิ่ม ซึ่งมักจะมีเปลือก (shell) หุ้มอีกชั้นหนึ่ง
เป็นสารพวกแคลเซียมคาร์บอเนต (calcium carbonate) หรือบางชนิดเปลือกก็ลดรูปไปเป็นโครงร่างที่อยู่ภายในร่างกาย
สัตว์ในไฟลัมมอลลัสคา เรียกโดยทั่วไปว่า มอลลัสก์ (mollusk) ที่รู้จักกันดีได้แก่หอยกาบคู่
(clams) หอยกาบเดี่ยว (snail) หอยงาช้าง
(tusk shell) หมึกต่าง ๆ เช่น หมึกกล้วย (squid) หมึกสายหรือหมึกยักษ์ (octopus) และลิ่นทะเล (chiton)
หรือเรียกว่าหอยแปดเกล็ด ซึ่งปัจจุบันพบสัตว์ในไฟลัมนี้มากกว่า 150,000
สปีชีส์ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำเค็ม และมีบางส่วนอยู่ในน้ำจืด
และบนบก
แบ่งออกเป็น 5 Class ได้แก่
1. Class Gastropoda เช่น หอยสังข์, หอยโข่ง, หอยขม และหอยทาก
2. Class PolyPlascophora เช่น ลิ่นทะเล
3. Class Pelecypoda เช่น หอยกาบ, หอยนางรม, หอยแครง, หอยเสียบ
4. Class Scaphopoda เช่น หอยงาช้าง
5. Class Cephalopoda เช่น หมึกกล้วย, หมึกกระดอง,หมึกสาย, หมึกยักษ์
6. ไฟลัมแอนเนลิดา (Phylum Annelida)
ภาพ ไส้เดือนดิน
ที่มา : www.somnow.wordpress.com
Annelida มาจากภาษาละติน
(annullus = little ring) แปลว่า วงแหวนหรือปล้อง หมายถึง
หนอนปล้อง
สัตว์ในไฟลัมแอนเนลิดา
มีร่างกายที่ประกอบด้วยปล้อง (segment หรือ somite) แต่ละปล้องคล้ายวงแหวนเรียงต่อกันจนตลอดลำตัว
และแสดงการเป็นปล้องทั้งภายในและภายนอก เช่นลักษณะกล้ามเนื้อ ระบบประสาท
ระบบหมุนเวียนโลหิต อวัยวะขับถ่ายตลอดจนอวัยวะสืบพันธุ์ ต่างก็จัดเป็นชุดซ้ำ ๆ
กันตลอดลำตัว และมีเยื่อกั้น (septum) กั้นระหว่างปล้อง
ทำให้ช่องตัว ถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ด้วย สัตว์ในไฟลัมนี้ที่รู้จักมีประมาณ 15,000
สปีชีส์ มีขนาดยาวน้อยกว่า 1 มิลลิเมตร
จนยาวถึง 3 เมตร พบอยู่ทั้งในน้ำเค็ม น้ำจืด และที่ชื้นแฉะ
แบ่งออกเป็น 3 Class ได้แก่
1. Class Oligochaeta เช่น ไส้เดือนดิน
2. Class Polychaeta เช่น แม่เพรียง ไส้เดือนทะเล
3. Class Hirudinea เช่น ปลิงน้ำจืด ปลิงดูดเลือด
ปลิงควาย ปลิงเข็ม
4. Class Archiannelida เช่น แอนนีลิด
ที่มีขนาดเล็กมาก เรียกว่า หนอนทะเล
7. ไฟลัมอาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda)
ภาพ สิ่งมีชีวิตในไฟลัมอาร์โทรโพดา
ที่มา : www.somnow.wordpress.com
ที่มา : www.somnow.wordpress.com
สัตว์ที่จัดอยู่ในไฟลัมนี้เรียกว่าสัตว์ขาข้อ
หรืออาร์โทรพอด(Arthropod)ซึ่งหมายถึงมีรยางค์ต่อกัน
เป็นข้อๆ สัตว์กลุ่มนี้มีจำนวนมากที่สุด ประมาณ1,200,000 ชนิด
หรือกว่า 80% ของอาณาจักรสัตว์
พวกอาร์โทรพอดมีความสำพันธ์กับพวกแอนเนลิดมากโดยเจิญมาจากพวกแอนเนลิด
สัตว์ในไฟลัมนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น6 Class ได้แก่
1. Class Crusatacea ส่วนมากจะอยู่ในน้ำ
มีตาประกอบ มีหนวด 2คู่ มีขา 5คู่ หรือมากกว่า รยางค์เป็น2แขนง
ส่วนของหัวเชื่อมกับส่วนอก (Cephalothorax) มีส่วนท้องเรียก
แอบโดเมน (Abdomen) ส่วนมากหายใจด้วยเหงือก มีอวัยวะขับถ่ายคือ
ต่อมเขียว (Green gland) สัตว์ในคลาสนี้เช่น กุ้งน้ำจืด
กุ้งทะเล ปู กั้ง ไรน้ำ ฯลฯ
2. Class Merostoma มีส่วนของหัวเชื่อมกับส่วนอก
(Cephalothorax) มีขา 5 คู่ ไม่มีหนวด ได้แก่ แมงดาทะเล แมงดาถ้วย แมงดาจาน
3. Class Archnida ส่วนมากจะอยู่บนบก สัตว์ในคลาสนี้ไม่มีหนวด
มีขา4 คู่ ส่วนของหัวเชื่อมกับส่วนอก (Cephalothorax) และส่วนท้องแอบโดเมน (Abdomen) แยกออกหายใจทางช่องลม
(Trachea) หรือแผงปอด (Book lung) หรือทั้งสองอย่าง สัตว์ในคลาสนี้แยกเพศกัน ได้แก่ แมงมุม แมงป่อง บึ้ง
เห็บ ฯลฯ
4. Class Insecta เป็นคลาสที่มีจำนวนชนิดมากที่สุด
ประมาณ 1ล้าน 5 แสนชนิด
ได้แก่พวกแมลงต่าง ๆ สัตว์ในคลาสนี้มีหนวด 1 คู่
มีขา 3 คู่ ไม่มีปีกหรือมีปีก 1-2 คู่ มีตาประกอบ มีส่วนของลำตัวแยกออกชัดเจนเป็น 3 ส่วน มีท่อลมเป็นอวัยวะหายใจ มีท่อมัลฟีเกียน (Mulpigian
tubules) ไว้ขับถ่าย มีการเจริญเติบโตของตัวอ่อนเป็น 4แบบ ได้แก่ ตัวสามง่าม, ยุง, แมลงวัน, ผีเสื้อ, แมลงปอ, แมลงสาบ, ปลวก, มด, จิ้งหรีด, ตั๊กแตน ฯลฯ
5. Class Diplopoda สัตว์ในคลาสนี้เรียกว่า
มิลลิบิด มีขาจำนวนมาก ลำตัวค่อนข้างกลม ยาว ประกอบด้วยส่วนหัว และส่วนอกสั้น ๆ ประกอบด้วยปล้องประมาณ 25 ถึง กว่า100 ปล้อง ไม่มีต่อมพิษ มีหนวด 1 คู่ มีขาปล้องละ 2คู่ มีตาเดี่ยว ได้แก่
กิ้งกือ กระสุนพระอินทร์
6. Class Chilopoda สัตว์ในคลาสนี้เรียกว่า
เซนติบิด มีขาจำนวนมาก ประมาณปล้องละ 1 คู่ ลำตัวประกอบด้วยส่วนหัว
และลำตัวยาวของอกติดกับท้อง มีประมาณ 15 ถึง 173ปล้อง
และปล้องที่หัวมีรยางค์ที่มีพิษอยู่ 1 คู่ มีหนวด 1 คู่ มีตาเดี่ยว เรียกว่า
โอเซลลัส (Ocelles) หายใจทางท่อลม ได้แก่ ตะขาบ
8. ไฟลัมเอไคโนเดอร์มาตา (Phylum
Echinodermata)
ภาพ โครงสร้างของดาวทะเล
ที่มา : www.slideshare.net
Echinodermata มาจากคำกรีก (echinos +derm = spiny skin) แปลว่าผิวหนังที่มีหนาม
จึงเรียกว่าสัตว์ผิวหนาม เป็นสัตว์ทะเลทั้งหมด พบประมาณ 7,000 สปีชีส์ ดำรงชีพอย่างอิสระ ไม่เป็นปรสิต ตัวอ่อนมีสมมาตรด้านข้าง
แต่ตัวเต็มวัยมีสมมาตรตามแนวรัศมี ปากอยู่ตรงกลาง มีรยางค์ยื่นออกไป
อาจมี 5 แฉก หรือมากกว่า
บางชนิดมีหนามแข็งยาวขยับได้
แบ่งออกเป็น 5 Class ได้แก่
1. Class Asteroidea เช่น ดาวทะเล
2. Class Ophiuroidea เช่น ดาวเปราะ
3. Class Echinoidea เช่น หอยเม่น อีแปะทะเล
4. Class Holothuroidea เช่น ปลิงทะเล
5. Class Crinoidea เช่น พลับพลึงทะเล
9. ไฟลัมคอร์ดาตา (Phylum Chordata)
ภาพ สิ่งมีชีวิตในไฟลัมคอร์ดาตา
ที่มา : www.sites.google.com
ที่มา : www.sites.google.com
จากที่คาดว่าโลกนี้มีสิ่งมีชีวิตมากกว่า
50 ล้านชนิด
เป็นสิ่งมีชีวิตที่ตั้งชื่อแล้ว 1.7 ล้านชนิด
เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลัง 43,853 ชนิด
ชนิดที่พบได้ในประเทศไทยและตั้งชื่อแล้ว 4,094 ชนิด
นับว่าเป็นสิ่งมีชีวิตอีกกลุ่มที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศของโลก
และมนุษย์อย่างยิ่ง สิ่งมีชีวิตในไฟลัมคอร์ดาตาทั้งหมดเป็นสัตว์หลายเซลล์ที่ไม่สามารถสร้างอาหารได้เองและต้องการใช้ออกซิเจนในการสร้างพลังงาน
พวกคอร์เดตโดยทั่วไปจะมีบางลักษณะคล้ายคลึงกับสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
แต่บางลักษณะก็แตกต่างกันอย่างมากมาย เช่น มีสมมาตรแบบครึ่งซีก (bilaterally
symmetrical) ร่างกายมีลักษณะเป็นปล้อง และมีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น การเกิดช่องตัวเป็นแบบเอนทีโรซีลา (enterocoela) เช่นเดียวกับพวกเอคไคโนเดิร์ม (เป็น Deuterostromes เช่นเดียวกับเอคไคโนเดิร์ม)
มีระบบอวัยวะที่แบ่งหน้าที่กันเป็นอย่างดี
ระบบหมุนเวียนโลหิตเป็นระบบปิดโดยมีหัวใจทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกาย
และมีเพศแยกกันเป็นต้น จมี 5 แฉก
หรือมากกว่า บางชนิดมีหนามแข็งยาวขยับได้
สามารถแบ่งได้ 7 Class ดังนี้
1. Class
Cyclostomata หรือ Class Agnatha
2. Class Chondricthyes
3. Class Osteicthyes
4. Class Amhibia
5. Class Reptilia
6. Class Aves
เนื้อหาอยู่ในเกณฑ์ดีเลยค่ะ เอาไปใช้ในบทเรียนได้ค่ะ
ตอบลบข้อมูลดีนะคะข บคุณสำหรับข้อมูลดีๆคะ
ตอบลบเนื้อหาอยู่ในเกณฑ์ดีครับ เเต่ติดอยู่ที่การฉีกคำและการจัดระเบียบข้อความครับ
ตอบลบเนื้อหาอยู่ในเกณฑ์ดีนะคะ ข้อมูลครบด้วยดีเป็นหมวดหมู่ดีคะ
ตอบลบทำเนื้อหามาดีมากเลยคะ
ตอบลบ