จำนวนชั้นของชั้นเนื้อ
1. ไม่มีชั้นเนื้อ เช่น ฟองน้ำ
2. มี 2 ชั้น
3. มี 3 ชั้น
ช่องลำตัว
(coelom)
-ไม่มีช่องว่างในลำตัวหรือไม่มีช่องตัว
(No body cavity or acoelom) เป็นพวกที่มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น
อยู่ชิดกัน
โดยไม่มีช่องว่างในแต่ละชั้น ได้แก่ พวกหนอนตัวแบน
-มีช่องตัวเทียม (Pseudocoelom) เป็นช่องตัวที่เจริญอยู่ระหว่าง mesoderm ของผนังลำตัว
และ endoderm ซึ่งเป็นทางเดินอาหาร
ช่องตัวนี้ไม่มีเยื่อบุช่องท้องกั้นเป็นขอบเขต ได้แก่ พวกหนอนตัวกลม โรติเฟอร์ (rotifer)
-มีช่องตัวที่แท้จริง (Eucoelom or coelom) เป็นช่องตัวที่เจริญแทรกอยู่ระหว่าง mesoderm
2 ชั้น คือ mesoderm ชั้นนอกเป็นส่วนหนึ่งของผนังลำตัว
(Body wall) กับ mesoderm ชั้นในซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของผนังลำไส้ (Intestinal wall) และ mesoderm ทั้งสองส่วนจะบุด้วยเยื่อบุช่องท้อง
(Peritoneum) ได้แก่ ไส้เดือนดิน หอย แมลง ปลา
สัตว์มีกระดูกสันหลัง
ภาพ แสดงภาคตัดขวางลำตัวของหนอนตัวกลม
ที่มา : www.nana-bio.com
สมมาตร
(Symmetry)
-ไม่มีสมมาตร (Asymmetry) มีรูปร่างไม่แน่นอน ไม่สามารถแบ่งซีกซ้ายและซีกขวาได้เท่าๆ กัน ได้แก่
พวกฟองน้ำ
-สมมาตรแบบรัศมี (Radial
symmetry) ร่างกายของสัตว์จะมีรูปร่างคล้ายทรงกระบอก หรือล้อรถ
ถ้าตัดผ่านจุดศูนย์กลางแล้วจะตัดอย่างไรก็ได้ 2 ส่วนที่เท่ากันเสมอ หรือเรียกว่า
มีสมมาตรที่ผ่าซีกได้เท่าๆ กันหลายๆ ครั้งในแนวรัศมี ได้แก่ สัตว์พวกไฮดรา
แมงกะพรุน ดาวทะเล เม่นทะเล
- สมมาตรแบบครึ่งซีก (Bilateral
symmetry) หรือมีสามาตรที่ผ่าซีกได้เท่าๆ กัน เพียง 1 ครั้ง
สมมาตรแบบนี้สามารถผ่า หรือตัดแบ่งครึ่งร่างกายตามความยาวของลำตัวแล้วทำให้ 2
ข้างเท่ากัน ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ได้แก่ พวกหนอนตัวกลม แมลง
สัตว์มีกระดูกสันหลัง
ภาพ
แสดงสมมาตรรัศมี และสมมาตรด้านข้าง
ที่มา
: www.nana-bio.com
ปล้องลำตัว
(Segmentation) การแบ่งเป็นปล้องเป็นการเกิดรอยคอดขึ้นกับลำตัวแบ่งออกเป็น
- การแบ่งเป็นปล้องเฉพาะภายนอก
(Superficial segmentation) เป็นการเกิดปล้องขึ้นเฉพาะที่ส่วนผิวลำตัว
เท่านั้นไม่ได้เกิดตลอดตัว เช่น พยาธิตัวตืด
- การแบ่งเป็นปล้องที่แท้จริง (Metameric segmentation) เป็นการเกิดปล้องขึ้นตลอดลำตัวทั้งภายนอกและภายใน
โดยข้อปล้องเกิดขึ้นในเนื้อเยื่อชั้นกลาง ทำให้เนื้อเยื่อชั้นอื่นๆ
เกิดเป็นปล้องไปด้วย ได้แก่ ไส้เดือน กุ้ง ปู แมลง ตลอดไปจนสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด
ระบบทางเดินอาหาร
(Digestive
tract)
- ทางเดินอาหารแบบไม่สมบูรณ์
(Incomplete digestive tract) เป็นทางเดินอาหารของสัตว์ที่มีปากแต่ไม่มีทวารหนัก
หรือมีช่องทางเดินอาหารเข้าออกทางเดียวกัน หรือทางเดินอาหารแบบปากถุง (One-hole-sac) ได้แก่ พวก แมงกะพรุน
- ทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์ (Complete digestive tract) เป็นทางเดินอาหารของสัตว์ที่มีทั้งปากและทวารหนัก
หรือมีช่องทางเข้าออกของอาหารคนละทางกัน หรือทางเดินอาหารแบบท่อกลวง (Two-hole-tube) ได้แก่ พวกหนอนตัวกลม จนถึงสัตว์มีกระดูกสันหลัง
ภาพ แสดงระบบทางเดินอาหารของไฮดรา
ที่มา
: www.sites.google.com
|
การเกิดช่องปาก ซึ่งสามารถแบ่งสัตว์ตามการเกิดช่องปากได้ 2 กลุ่ม คือ
- โปรโตสโตเมีย (Protostomia) เป็นสัตว์พวกที่ช่องปากเกิดก่อนช่องทวารในขณะที่เป็นตัวอ่อน
ซึ่งช่องปากเกิดจากบลาสโตพอร์
หรือบริเวณใกล้ๆ
- บลาสโตพอร์ (Blastopore) ได้แก่ พวกหนอนตัวแบน หนอนตัวกลม หนอนมีปล้อง หอย
สัตว์ขาปล้อง
ระบบประสาท
- ไม่มีระบบประสาท
ได้แก่ ฟองน้ำ
- cnidarian มีระบบประสาทแบบ nerve
net
ภาพ แสดงโครงสร้างของฟองน้ำ
ที่มา
: www.pinterest.com
|
ขอบคุณนะคะ ทำให้ได้เข้าใจมากขึ้นเลยค่ะ
ตอบลบสวยงามน่าอ่านมากจ่ะ
ตอบลบมีภาพประกอบ เข้าใจมากขึ้นค่ะ
ตอบลบ